Terminal 21 rama3
เดิมย่านพระราม 3 เป็นย่านที่ถูกแช่แข็งจากการเติบโตตั้งแต่ฟองสบู่แตกเมื่อปี 40 เมื่อก่อนถนนพระราม 3 เป็นที่ต้องการปั้นให้เป็นถนนธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ รองรับการเติบโตของถนนสายธุรกิจดั้งเดิมอย่างสีลมที่แน่นมาก พร้อมชวนภาคเอกชนรายใหญ่ๆ และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของไทยให้มาร่วมปักธงสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ ณ ถนนสายนี้ด้วย เพื่อร่วมกันบูมพระราม 3 ให้กลายเป็นถนนสายเศรษฐกิจแห่งใหม่
ในช่วงเวลานั้นภาคเอกชนหลายรายให้ความสนใจมาก ทั้งที่มีเริ่มเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อลงทุนสร้างโครงการต่างๆ มีโรงแรมริมแม่น้ำ มีกลุ่มอาคารมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ที่มีทั้งอาคารสำนักงาน พื้นที่เชิงพาณิชย์ และคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำ ราคาที่ดินถูกปั่นขึ้นไปสูง โครงการคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำหรูเปิดขายในราคาที่สูงมาก แต่ก็ยังมีกลุ่มคนให้ความสนใจซื้อ เรียกได้ว่าพระราม 3 ในเวลานั้นเป็นทำเลทองแห่งอนาคตมากๆ
แต่พอประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อปี 2540 ทำให้การลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนชะลอตัว หลายโครงการทั้งอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำย่านพระราม 3 ต้องหยุดการก่อสร้างอย่างไม่มีกำหนด เพราะเจ้าของโครงการขาดสภาพคล่องและต้องเร่งแก้ปัญหาหนี้สินจากการทุ่มลงทุนมาก่อนหน้านั้น ทำให้ถนนพระราม 3 ถูกแช่แข็งการเติบโต ไม่บูมเท่าที่ควรจะเป็น
ซึ่งศักยภาพของทำเลที่ตั้งถนนพระราม 3 แล้ว ถนนเส้นนี้มีความน่าสนใจมาก เพราะเป็นหนึ่งในถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (แยกถนนตก) ยาวไปสิ้นสุดที่แยก ณ ระนอง โดยตลอดทางของถนนพระราม 3 มีจุดตัดกับถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนเจริญราษฎร์ (แยกเจริญราษฎร์) ถนนรัชดาภิเษก (แยกพระราม 3-รัชดาฯ) ถนนสาธุประดิษฐ์ (แยกสาธุประดิษฐ์) ถนนยานนาวา (แยกพระราม 3-ยานนาวา) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (แยกพระราม 3-วงแหวนอุตสาหกรรม) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกพระราม 3-นราธิวาสฯ หรือแยกช่องนนทรี) ถนนนางลิ้นจี่ (แยกนางลิ้นจี่) ถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรี จุดเชื่อมต่อเหล่านี้และการมีจุดขึ้นลงทางด่วน ทำให้การเดินทางจากถนนพระราม 3 เข้าเมืองหรือออกนอกเมืองมีความสะดวกมากทำให้หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ถนนสายนี้เริ่มฟื้นตัว หลายโครงการที่หยุดสร้างเริ่มกลับมาก่อสร้างจนแล้วเสร็จ หรือหลายตึกร้างก็มีการซื้อขายเปลี่ยนมือสู่กลุ่มทุนใหม่เข้ามาพัฒนาต่อจนจบ และการที่ปัจจุบันมีรถเมล์ด่วนพิเศษ บีอาร์ทีวิ่งจากถนนราชพฤกษ์ (ใกล้กับบีทีเอสตลาดพลู) มายังถนนรัชดาภิเษกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังถนนพระราม 3 ยาวไปจนถึงแยกพระราม 3-นราธิวาสฯ ก็วิ่งเข้าสู่ถนนสาทร ทำให้การเดินทางทั้งรถยนต์และรถสาธารณะบนถนนสายนี้สะดวกขึ้น
แม้จะมีพัฒนาการด้านการคมนาคมที่ดีขึ้น แต่ถนนพระราม 3 ก็ไม่ได้เติบโตอย่างหวือหวามากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือเอ็มอาร์ทีผ่าน ทำให้มีโครงการส่วนใหญ่จะเป็นโครงการระดับกลางบน หรือระดับไฮเอนด์ขึ้นไป เพราะจุดเด่นสำคัญของถนนสายนี้นอกจากเดินทางสะดวกแล้วยังติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย
cr .home.co.th/news/topic-4432, brandinside.asia/terminal-21-korat-open, paikondieow.com/terminal21-pattaya/